Have an account?

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

E-commerce


e-Commerce คือธุรกิจรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21

ในอดีต การลงทุนค้าขายอะไรสักอย่าง จะต้องใช้เงินลงทุนสูง เลือกทำเล กู้เงินก้อนโต จ้างพนักงานประจำ และต้องโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่หลังจากที่ Internet เข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต ทำให้พฤติกรรมการลงทุนของคนกลุ่มหนึ่งเปลี่ยนไป พวกเขาสามารถขายของ โดยไม่ต้องเช่า หรือสร้างอาคารสำหรับเปิดร้าน ไม่ต้องกู้เงินก้อนโตมาลงทุนจัดการสำนักงาน ไม่ต้องจ้างพนักงานนั่งหน้าร้าน เพราะนี่คือยุคของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce หรือ e-Commerce) เป็นคลื่นอีกลูกที่ต้องจับตา

เหตุที่พฤติกรรมการทำธุรกิจได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เพราะระบบ Internet ได้เข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะเอื้ออำนวยต่อการลงทุนค้าขาย นักธุรกิจสามารถทำหน้าร้านใน Internet ให้สวยงามอย่างไรก็ได้เพื่อดึงดูดลูกค้า มีภาพสินค้า สี รุ่น ให้ลูกค้าเลือกได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากทุกมุมโลก หากมีข้อสงสัยจะสามารถปรึกษาแบบ Online ผ่านเครื่องมือสื่อสารที่มีค่าใช้จ่ายต่ำเช่น ICQ หรือ IRC หรือ E-Mail ติดต่อสื่อสารกัน เมื่อมีคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า ก็เพียงแต่นำสินค้านั้นจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ ไม่จำเป็นต้องมีโกดังเก็บสินค้าใหญ่โต การรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตจะทำให้ผู้ใช้สะดวกกว่าการจ่ายเงินสดอย่างมาก สิ่งเหล่านี้มิใช่ความฝันอีกต่อไป แต่กำลังดำเนินอยู่ในโลกปัจจุบันนี่เอง

ความแพร่หลายของการนำระบบ Internet เข้ามาใช้ในปัจจุบัน ที่พอมีตัวอย่างให้สังเกตุได้ง่าย เช่น การหนังสือผ่าน Internet การส่งข้อความเข้าโทรศัพท์มือถือ หรือ Pager ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน การตรวจผลฉลากกินแบ่งรัฐบาล การนำสินค้าไปประกาศขาย หรือประกาศซื้อ การลงทะเบียนเรียนของสถาบันการศึกษาทาง Internet การสมัครเป็นสมาชิกกับองค์กร หรือสมาคมต่าง ๆ แบบ Online การรับสอน ให้คำปรึกษา หรือจัดอบรม การซื้อขายโปรแกรม รูปภาพ เอกสาร หรือเพลง เป็นต้น

จากข้อมูลในตลาดหุ่น NASDAQ Stock market ที่อาจทำให้ใครต่อใครที่ยังไม่รู้ว่า Internet คืออะไร ถึงกับตะลึงได้ว่า หุ่นของบริษัท Yahoo! ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้น มีมูลค่ารวมถึง 8.2 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งมูลค่าของบริษัทเท่ากับระบบเศรษญกิจของประเทศออสเตรเลียทั้งประเทศทีเดียว แม้ปัจจุบันมีเว็บไซต์ใน Internet เพียงไม่กี่รายที่มีกำไรจากผลประกอบการ แต่ส่วนใหญ่ต้องการทำเว็บให้ดีมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมมาก และส่งเข้าขายในตลาดหุ้น เพราะทันทีที่เข้าตลาดหุ้น หุ้นของบริษัทจะสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อทีเดียว และนักพัฒนาเว็บก็จะนำหุ้นออกจำหน่ายกลายเป็นเศรษฐีใหม่กันทันที นักลงทุนส่วนใหญ่ที่กล้าซื้อหุ้นของเว็บไซต์ มักต้องการซื้ออนาคตของเว็บนั้น เพราะเมื่อใครมีเว็บที่ทุกคนรู้จัก และมีอนาคต ต่อไปจะสามารถนำข้อมูล หรือสินค้าอะไรไปขายผ่านเว็บก็จะได้รับความสนใจ นักท่องเว็บก็จะเข้าเยี่ยมชม และใช้บริการสินค้าเหล่านั้น ดังที่ทุกคนต่างรู้กันดีว่า เว็บที่ให้บริการสืบค้นจะไม่มีใครล้มราชาอย่าง Yahoo ได้ และปัจจบัน Yahoo ก็เริ่มเข้ามาทำ Ecommerce ขายสินค้า แทนการให้บริการสืบค้นเพียงอย่างเดียว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่นักลงทุนกล้าที่จะซื้อหุ้นของเว็บไซต์ใน Internet ซึ่งมีราคาสูงอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยหวังทีว่าเขาจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนกลับคืนมาเป็นก้อนมหาศาลในอนาคต

เว็บที่มีราคาหุ้นในตลาดหุ้นที่สูงยังมีอีกมากเช่น www.amazon.com ซึ่งให้บริการขายหนังสือแบบ Online หรือ www.ebay.com ซึ่งให้บริการประมูลสินค้า ซึ่งทั้ง 2 เว็บนี้ต่างเป็นบริษัทที่ให้บริการในลักษณะ e-Commerce ที่ประสบความสำเร็จในการขายหุ้น แต่ในด้านการทำกำไรแล้ว ทั้ง 2 เว็บยังคงมีผลประกอบการขาดทุน หรือเว็บที่มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่เป็นของคนไทย ก็เช่น www.thaiamazon.com , www.thaicybermall.com หรือ www.pramool.com เป็นต้น ซึ่งเป็นเว็บสัญชาติไทยที่ผู้คนรู้จักกันดี แต่สำหรับประเทศไทยการที่จะนำเว็บเข้าตลาดหุ้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้แต่เว็บอันดับหนึ่งของไทย เช่น www.hunsa.com หรือ www.sanook.com ก็ยังไม่ได้เข้าไปในตลาดหุ้น เพราะเว็บที่จะเข้าตลาดหุ้นได้นั้นจะต้องผ่านข้อกำหนด และเงื่อนไขหลาย ๆ อย่าง เช่นต้องมีทุนจดทะเบียนหลายสิบล้านเป็นต้น
รัฐบาลไทยได้เข้ามามีบทบาทให้การสนับสนุน e-Commerce อย่างเต็มที่ โดยมีหน่วยงานที่ชื่อ ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Resource Center) ซึ่งเปิดเว็บไซต์ให้ข้อมูลข่าวสารที่
www.e-Commerce.or.th เช่นข่าวการประชุมสัมมนาที่เกี่ยวข้อง หรือร่างพระราชบัญญัติใหม่ ๆ ในด้าน Electronic เป็นต้น รวมทั้งการแจกเอกสารการสัมมนาที่มีประโยชน์ในรูปแบบ PDF ให้ชายไทยที่สนใจได้ Download ไปศึกษา

ประโยชน์ของ e-Commerce
1. ไม่ต้องมีพนักงานนั่งประจำ เพราะสามารถให้บริการแบบอัตโนมัติได้
2. สามารถเปิดขายได้ตลอด 7 วัน ๆ ละ 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด
3. สามารถเก็บเงิน และโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทอัตโนมัติ
4. ตอบสนองนักลงทุนได้ทุกระดับ ตั้งแต่มืออาชีพทุนหนา ไปถึงมือใหม่ทุนน้อย
5. ประหยัดค่าพิมพ์เอกสารแนะนำสินค้า เพราะรายละเอียดทั้งหมด เสนอผ่านเว็บ

ปัญหาการขนส่ง ซึ่งขึ้นกับประเภทธุรกิจ
1. ค่าขนส่งอันเนื่องจาก น้ำหนัก และขนาด โดยปกติการซื้อสินค้าใน Internet จะมีบริการขนส่งให้ถึงบ้าน ตัวสินค้าอาจมีราคาถูกจริง แต่ค่าขนส่งจะสูง ทำให้บางครั้งจะต้องขายสินค้าเป็นชุด หรือเป็นแพ็ค เพราะไม่คุ้มที่จะขนส่งสินค้าเพียงชิ้นเดียว และลูกค้าโดยทั่วไป มักไม่ยินดีชำระค่าขนส่งที่สูงกว่าราคาสินค้า เช่นเทปเพลงตลับละ 90 บาท แต่มีค่าขนส่ง 100 บาท ทำให้ราคารวมสูงถึง 190 บาท เป็นต้น
2. ปัญหาการส่งของสด เช่นร้านดอกไม้ ที่รับส่งดอกไม้ อาจต้องจำกัดให้บริการเฉพาะในพื้นที่เช่นในกรุงเทพฯ ดังนั้นลูกค้าในต่างจังหวัดจึงไม่สามารถใช้บริการ
3. การรับประกัน และนโยบายการคืนของ หรือรับประกันความพึงพอใจ ในสินค้าบางอย่างที่แตกหักเสียหาย หรือเสื่อมสภาพได้โดยง่ายเช่น อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ Diskette หรือ CD หากการขนส่งไม่ดี ปล่อยให้ตากแดด หรือมีความชื้นสูง อาจเป็นปัญหากับสินค้าได้ และภาระความรับผิดชอบจะต้องตกเป็นของผู้ขาย หรือผู้ซื้อ
4. ถ้าเกิดปัญกาการขนส่ง ซึ่งมีที่อยู่ของผู้รับผิด หรือผู้ที่รับไม่ใช่ผู้สั่งซื้อ เป็นต้น อาจเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณา วางมาตรการแก้ไข และป้องกันไว้อย่างดี ก่อนเริ่มกิจการ
5. สินค้าราคาสูง เช่น คอมพิวเตอร์ เพชร พลอย ทอง ภาพเขียนโบราณ หรือเครื่องแก้ว ซึ่งมีปัญหาทั้งความปลอดภัย และการประกันสินค้า โดยปรกติบริษัทขนส่งมักให้ความคุ้มครองสินค้าไม่สูงนัก การส่งสินค้าประเภทนี่จึงมีความเสี่ยงสูง

พื้นฐานสำคัญของ e-Commerce ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่ต้องทำงานประสานกัน ถ้าจะทำเว็บ e-Commerce จะต้องเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นตัวเครื่อง Server และระบบ Network ซึ่งต้องทำงานประสานกันอย่างสอดคล้อง เพราะต้องเปิด 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน ส่วนซอฟต์แวร์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการระบบฐานข้อมูล และมีประสิทธิภาพในการนำเสนอ เพื่อสร้างความประทับใจ และดึงดูดลูกค้า ซึ่งจำเป็นที่ผู้ต้องการทำ e-Commerce ด้วยตนเองต้องตระหนัก แต่การทำ e-Commerce มีหลายรูปแบบ ถ้าท่านมีทุนน้อยอาจไม่ต้องสนใจเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือการขอ Domain name จาก networksolutions.com หรือ thnic.net เพียงไปขอใช้บริการจากเว็บที่ให้บริการทำ e-Commerce ครบวงจร พวกเขาจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ รับจัดการเรื่องการเงิน รับดูแลฐานข้อมูลสินค้า รับออกแบบเว็บ รับให้คำปรึกษา หรือรับส่งสินค้า เป็นต้น เพียงแต่ท่านต้องชำระค่าบริการเป็นรายเดือนเท่านั้น

หากท่านคิดจะทำ e-Commerce โดยติดตั้ง Hardware และ Software เอง และสามารถรับชำระเงินจากบัตรเครดิต เรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาอย่างระมัดระวังคือความปลอดภัย ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการใช้ระบบ SSL(Secure Socket Layer) ซึ่งใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลสำหรับการสื่อสารของไคลแอนต์กับเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบ SET(Secure Electronic Transactions) จะคล้าย SSL แต่จะมีหน่วยงานกลางที่ยืนยันการทำธุรกรรม(Certification Authority:CA) และยืนยันความมีตัวตนโดยนำ Private key และ Public key มาใช้ ซึ่งผู้ขายสินค้าจะไม่ได้รับข้อมูลของรหัสบัตรเครดิต แต่จะได้รับเฉพาะข้อมูลการสั่งซื้อ รหัสบัตรเครดิตนั้นทางหน่วยงานกลางจะส่งไปให้ธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป

นอกจากนี้ความปลอดภัยยังต้องรวมไปถึงการออกแบบฐานข้อมูล ที่จะต้องมีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลความลับเป็นอย่างดี อาจหาระบบ Firewall มาป้องกันการเข้าถึงจากผู้ไม่มีสิทธิ์ และกำหนดสิทธิ์อันควรให้กับผู้ที่เข้าถึงข้อมูลได้ ในปัจจุบันการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านเครื่อง EDC (Electronic Data Capture) ตามห้างสรรพสินค้า หรือร้านอาหารอยู่แล้ว และต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถรับชำระเงินผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย Internet ได้แล้ว โดยเว็บที่มีการนำระบบนี้มาใช้เป็นรายแรกคือ thaicybermall.com ซึ่งได้ทำการพัฒนาร่วมกับธนาคารกรุงไทย และเปิดให้บริการในปัจจุบัน ระบบนี้จะสามารถตรวจบัตรเครดิตแบบ Online ได้เหมือนกับการใช้จ่ายตามห้างสรรพสินค้าทันที เพราะการจ่ายชำระเงินด้วยบัตรเครดิตนั้น ลูกค้าเพียงแต่กรอกเลขบัตรเครดิต และเดือนปีที่บัตรหมดอายุ ผู้ขายก็สามารถติดต่อให้ธนาคารโอนเงินให้แบบอัตโนมัติผ่านเครื่อง EDC ที่เตรียมไว้นั่นเอง

ปัจจุบันการชำระเงินในระบบเครือข่าย Online สามารถกระทำได้หลายวิธีเช่น ใช้บัตรเครดิต(Credit card) ส่งเช็คอิเล็กทรอนิกส์(E-Cheque) เงินสดดิจิตอล(Digital cash) ระบบไมโครแคช(Micro cash) หรือ EDI (Electronic Data Interchange)สำหรับการซื้อขายระหว่างกัน โดยใช้เอกสารแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิคส์ที่เป็นมาตราฐาน และต่อมาได้มีการออกแบบระบบ EFT (Electronic Funds Transfer) เพื่อให้สามารถส่งผ่านรายการโอนเงินในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อำนวยต่อการพัฒนาระบบ e-Commerce ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

e-Commerce เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่าน การตัดสินใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ จะต้องวางแผนให้รัดกุม ถึงแม้จะใช้เงินลงทุนในระยะแรกไม่สูง และไม่ต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก ก็สามารถทำธุรกิจประเภทนี้ได้ แต่ปัจจุบันมีคู่แข่งเข้ามาในธุรกิจมาก เพราะนักลงทุนสามารถเปิดธุรกิจได้ง่าย และกำลังอยู่ในความสนใจของคนรุ่นใหม่ แต่ถ้าคิดจะลงทุนค้าขายสินค้าให้คนไทย อาจจะต้องพบปัญหาที่คนไทยยังมีอัตราการใช้จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ในระบบ Internet น้อย ทำให้มี Supply มากกว่า Demand นั่นจึงเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณา และหาทางแก้ไข อย่างเป็นขั้นตอนต่อไป จึงจะทำให้ระบบ e-Commerce ในประเทศเราก้าวไปได้อย่างมั่นคง

E-commerce


e-Commerce ทำอย่างไร


บริการตั้งร้านค้า ในอินเทอร์เน็ต
1.พื้นที่ตั้งร้านบน net ฟรี จาก free hosting แสดงสินค้า แล้วให้ลูกค้า มาติดต่อขอซื้อมา
2.พื้นที่ตั้งร้านบน net ฟรี จาก free hosting ที่บริการ e-Commerce พร้อม shopping cart
3.พื้นที่แบบเสียเงิน แต่ไม่รับชำระผ่านระบบบัตรเครดิต เนื่องจากยุ่งยาก และมีเรื่องค่าใช้จ่ายเข้ามา
4.พื้นที่แบบเสียเงิน พร้อมเข้าระบบรับชำระผ่านบัตรเครดิตที่สมบูรณ์ เพราะหวังขายได้มาก ๆ เปิดช่องทางกว้างขึ้น

เรื่องน่าคิดอื่น ๆ ก่อนทำ e-Commerce
1.ขายอะไร (ผมเองก็ติดปัญหาเรื่องนี้ เพราะไม่รู้จะขายอะไร ที่เหมาะสมกับตัวที่สุด .. จึงยังไม่ขาย) ธุรกิจที่น่าสนใจในปัจจุบัน เช่น ดอกไม้, Hand-make, หนังสือ, CDเพลง, โปรแกรม, ให้เช่า server, รับโฆษณา หรือเข้าไปดูที่ shoppingthai.com ก็ได้ครับ
2.จด Domain Name และจดกับใคร

1. จด .com หรือ .net หรือ .co.th

2. จดกับผู้ให้บริการจดชาวไทย หรือชาวต่างชาติดี
3.เป็น SME (Small and Medium Enterprises) เพื่อรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และจะตั้งเป็นบริษัท หรือไม่
4.ระบบ stock เป็นอย่างไร เช่นฝากสินค้า หรือขนถ่ายสินค้าสะดวกไห
5.ภาษีคิดอย่างไร ทั้งในและต่างประเทศ
6.ระบบเงินตราที่ขายสินค้าเป็นบาท dollar หรือบาท
7.ราคาขาย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องกำหนดให้เหมาะสม ไม่ถูกหรือแพงเกินไป และต้องมีเหตุผล อธิบายเสมอ
8.ทำเอง หรือให้ผู้เชี่ยวชาญที่เขาให้บริการ ครบวงจร
9.การขนส่งคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร (ตามน้ำหนัก ตามระยะทาง ตามมูลค่า หรือตามขนาด)
10.ความปลอดภัย (ถ้าไม่รับเรื่องบัตรเครดิต หรือไม่ serius เรื่องความลับก็ไม่ต้องสนใจก็ได้ครับ)

1. SSL (Secure Socket Layer) จะเข้ารหัสก่อนส่ง ไปให้ผู้บริการ เป็นระบบที่นิยมกันมาก และใช้ key เฉพาะจากผู้ส่งเท่านั้น แต่มีจุดบกพร่อมของระบบที่ ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว เมื่อส่งไปยังปลายทางจะถูกถอดรหัส เป็นเลขบัตรเครดิตให้เห็น ซึ่งอาจถูก hack ข้อมูลไปได้

2. SET (Secure Electronic Transactions) เป็นระบบที่ปลอดภัยมาก เพราะผู้ซื้อ และผู้ขาย ต่างก็มีรหัสที่ต้องขอจากหน่วยงานกลาง เพื่อยืนยันการทำธุรกรรม (Certification Autority : CA) ร้านค้าจะได้รับเฉพาะข้อมูลการสั่งซื้อ ส่วนรหัสบัตร ร้านค้าจะไม่ทราบ แต่จะส่งไปให้ธนาคารโดยตรง (ปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายของระบบนี้ยังสูงอยู่)

เลือกรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ท่านอาจทำทุกรูปแบบ หรือแบบใดแบบหนึ่ง)

รูปแบบที่ 1: B-to-B (Business to Business) เป็นการค้าระหว่างองค์กร หรือบริษัท (ปริมาณขายต่อครั้งจะมาก)

รูปแบบที่ 2: B-to-C (Business to Consumer) เป็นการค้าจากองค์กร สู่ลูกค้าบุคคล (ค้าส่งขนาดย่อม ประมาณพอประมาณ)

รูปแบบที่ 3: C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นการค้าระหว่างบุคคล ถึง บุคคล (ค้าปลีก ปกติปริมาณขายจะน้อย)

รูปแบบที่ 4: G-to-C (Government to Consumer) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับผู้บริโภค (การให้บริการประชาชน)

รูปแบบที่ 5: G-to-B (Government to Business) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับองค์กร (ปริมาณการค้ามาก)

E-commerce


e-Commerce คืออะไร


- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)


- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)


- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)


- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)


- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)


- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้


- Electronic commerce, commonly known as e-commerce or eCommerce, consists of the buying and selling of products or services over electronic systems such as the Internet and other computer networks. The amount of trade conducted electronically has grown dramatically since the wide introduction of the Internet. A wide variety of commerce is conducted in this way, including things such as electronic funds transfer, supply chain management, e-marketing, online marketing, online transaction processing, electronic data interchange (EDI), automated inventory management systems, and automated data collection systems. Modern electronic commerce typically uses the World Wide Web at at least some point in the transaction's lifecycle, although it can encompass a wide range of technologies such as e-mail as well.


กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
2.ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
3.ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
4.ลูกค้า รอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)


e-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน เรียบเรียงจาก e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงิน โดย วัชระพงศ์ ยะไวทย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด หน้า 20
1.ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
2.ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด
24 ชั่วโมง
3.เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
4.ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
5.แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
6.แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย


หัวข้อให้คิด ที่ส่งผลให้การทำ e-Commerce สำเร็จ
1.สำรวจ (Research) :: สำรวจตลาดบ่อยเพียงใด เพื่อประเมินคู่แข่ง ตนเอง และลูกค้า
2.วางแผน (Planning) :: กำหนด Gantt chart เพื่อติดตั้งระบบ แผนลงทุน และแผนคืนทุน
3.เงินทุน (Loan) :: ต้องใช้เงินทุนทั้งหมดเท่าไร หาได้ที่ไหน คืนอย่างไร
4.จ่ายเงิน (Payment) :: แผนรับชำระเงิน เช่น โอนผ่านตู้เอทีเอ็ม พกง. เพย์พาล เคาน์เตอร์ธนาคาร ดร๊าฟธนาคาร บัตรเครดิต ตั๋วเงินรับ เช็คส่วนบุคคล การโอนทางโทรเลข
5.ขนส่ง (Transport) :: สินค้าจะจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าอย่างไร เช่น Fedex, DHL, Logistic
เป็นต้น
6.สินค้า (Product) :: ความน่าสนใจของสินค้า ขายแล้วจะมีคนซื้อ หรือไม่
7.ราคา (Price) :: ราคาที่จะส่งผลถึงกำไร จากการสั่งซื้อแต่ละครั้งมากพอ หรือไม่
8.สถานที่ (Place) :: ขายให้คนไทย หรือต่างชาติ ที่พักสินค้า ร้านตั้งที่ไหน
9.โฆษณา (Promotion) :: มีแผนโฆษณาอย่างไร และจะใช้วิธีการใดบ้าง
10.คลังสินค้า (Stock) :: ระบบจัดการคลังสินค้า ควบคุมอย่างไร
11.เวลา (Time) :: ประเมินระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อ ส่งสินค้า และได้รับเงิน ทั้งหมดกี่วัน
12.ผิดพลาด (Error) :: ส่งไปแล้วไม่มีผู้รับ ไม่ได้รับเงิน ส่งไม่ทัน ไม่ได้มาตรฐานทำอย่างไร
13.สำนักงาน (Office) :: มีพนักงานกี่คน ลงทุนอะไรบ้าง ที่ตั้งสำนักงาน และแหล่งสินค้า
14.หีบห่อ (Package) :: คำสั่งซื้อจะมาพร้อมรูปแบบสินค้า และลักษณะหีบห่อ ยืดหยุ่นหรือไม่
15.เทคนิค (Technique) :: รายละเอียดของระบบที่ใช้ เพื่อให้เกิดการซื้อขายได้ เป็นแบบใด
16.ออกแบบ (Design) :: ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือหน้าร้านได้น่าสนใจหรือไม่
17.ความปลอดภัย (Security) :: ทุกระบบต้องรองรับการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีได้ทุกรูปแบบ
18.ขนาด (Size) :: ขนาดระบบ เช่น รองรับจำนวนลูกค้า การสั่งซื้อ หรือสินค้าได้เพียงใด
19.การควบคุม (Controlling) :: การควบคุมกระบวนการทั้งหมด ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้อง
20.สำรอง (Backup) :: แผนสำรองข้อมูล ในกรณีที่ระบบล้ม หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ยกเลิก
212ภาษี (Tax) :: เข้าใจกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ในประเทศ และกฎหมายด้าน IT

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

free counters

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

วันครู


วันนครู
ความหมาย
ครู หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่
ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ประวัติความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูใน
ราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล
และให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็น
ในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว
ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ
แถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"
หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการ
อำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจาก
ผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดา
ลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป
ถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือ
ครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ
ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู"
เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ
และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี
"วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณ
บูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น"วันครู"
โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู
และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ
เป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ
หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบัน
ได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
1.กิจกรรมทางศาสนา
2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง
ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด
สำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกันกับส่วนกลาง
จะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์
และประชาชนร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 1,000 รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธี
ในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรี
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงาน
ต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึก
ถึงพระคุณบูรพาจารย์ ดังนี้

ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา
(วสันตดิลกฉันท์) ประพันธ์ โดยพระวรเวทย์พิสิฐ(วรเวทย์ ศิวะศรียานนท์)
แหล่งที่มา

http://images.google.co.th/images?hl=th&rlz=1R2MOOI_enTH345&q=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9&um=1&ie=UTF-8&ei=gT9US5-RNsGOkQW0hN2yCg&sa=X&oi=image_result_group&ct=title&resnum=1&ved=0CBAQsAQwAA

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

งานสวัสดีปีใหม่2553


เย็นวันที่ 31 ธค. ปี 2552 ที่ ขอนแก่น ได้จัดงาน เฉลิมฉลองศักราชใหม่ขึ้น ในปีนี้จัดยิ่งใหญ่มักมาก โดยจัดที่บริเวณ สี่แยก ประตูเมือง ระหว่าง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ติดกับ เซนทรัลพลาซ่า.........
พวกเราชาวขอนแก่นได้สัมผัสบรรยากาศ รถติดเหมือนชาว กทม.ยังไงยังงั้นเลยค่ะ.......ทันหมัยมาก
ปิดถนนตั้งแต่แยก เซนทรัลพลาซ่า ไปถึง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง......
ผู้เขียนได้ตามมาเก็บบรรยากาศให้ทุกท่านได้ชม ในช่วงหัวค่ำตอนพิธีเปิดงานเมื่อเก็บภาพเสร็จแล้วต้องรีบกลับบ้าน ก่อนที่ผู้คนจะหลั่งไหล..เพื่อมา count down มากกว่านี้ค่ะ............

แล่งที่มา
http://gotoknow.org/blog/pra-rt/324473

นาฬิกา

ประเทศต่างๆ

free counters

calendar

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยมหาสสารคาม

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น