Have an account?

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

E-commerce


e-Commerce ทำอย่างไร


บริการตั้งร้านค้า ในอินเทอร์เน็ต
1.พื้นที่ตั้งร้านบน net ฟรี จาก free hosting แสดงสินค้า แล้วให้ลูกค้า มาติดต่อขอซื้อมา
2.พื้นที่ตั้งร้านบน net ฟรี จาก free hosting ที่บริการ e-Commerce พร้อม shopping cart
3.พื้นที่แบบเสียเงิน แต่ไม่รับชำระผ่านระบบบัตรเครดิต เนื่องจากยุ่งยาก และมีเรื่องค่าใช้จ่ายเข้ามา
4.พื้นที่แบบเสียเงิน พร้อมเข้าระบบรับชำระผ่านบัตรเครดิตที่สมบูรณ์ เพราะหวังขายได้มาก ๆ เปิดช่องทางกว้างขึ้น

เรื่องน่าคิดอื่น ๆ ก่อนทำ e-Commerce
1.ขายอะไร (ผมเองก็ติดปัญหาเรื่องนี้ เพราะไม่รู้จะขายอะไร ที่เหมาะสมกับตัวที่สุด .. จึงยังไม่ขาย) ธุรกิจที่น่าสนใจในปัจจุบัน เช่น ดอกไม้, Hand-make, หนังสือ, CDเพลง, โปรแกรม, ให้เช่า server, รับโฆษณา หรือเข้าไปดูที่ shoppingthai.com ก็ได้ครับ
2.จด Domain Name และจดกับใคร

1. จด .com หรือ .net หรือ .co.th

2. จดกับผู้ให้บริการจดชาวไทย หรือชาวต่างชาติดี
3.เป็น SME (Small and Medium Enterprises) เพื่อรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และจะตั้งเป็นบริษัท หรือไม่
4.ระบบ stock เป็นอย่างไร เช่นฝากสินค้า หรือขนถ่ายสินค้าสะดวกไห
5.ภาษีคิดอย่างไร ทั้งในและต่างประเทศ
6.ระบบเงินตราที่ขายสินค้าเป็นบาท dollar หรือบาท
7.ราคาขาย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องกำหนดให้เหมาะสม ไม่ถูกหรือแพงเกินไป และต้องมีเหตุผล อธิบายเสมอ
8.ทำเอง หรือให้ผู้เชี่ยวชาญที่เขาให้บริการ ครบวงจร
9.การขนส่งคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร (ตามน้ำหนัก ตามระยะทาง ตามมูลค่า หรือตามขนาด)
10.ความปลอดภัย (ถ้าไม่รับเรื่องบัตรเครดิต หรือไม่ serius เรื่องความลับก็ไม่ต้องสนใจก็ได้ครับ)

1. SSL (Secure Socket Layer) จะเข้ารหัสก่อนส่ง ไปให้ผู้บริการ เป็นระบบที่นิยมกันมาก และใช้ key เฉพาะจากผู้ส่งเท่านั้น แต่มีจุดบกพร่อมของระบบที่ ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว เมื่อส่งไปยังปลายทางจะถูกถอดรหัส เป็นเลขบัตรเครดิตให้เห็น ซึ่งอาจถูก hack ข้อมูลไปได้

2. SET (Secure Electronic Transactions) เป็นระบบที่ปลอดภัยมาก เพราะผู้ซื้อ และผู้ขาย ต่างก็มีรหัสที่ต้องขอจากหน่วยงานกลาง เพื่อยืนยันการทำธุรกรรม (Certification Autority : CA) ร้านค้าจะได้รับเฉพาะข้อมูลการสั่งซื้อ ส่วนรหัสบัตร ร้านค้าจะไม่ทราบ แต่จะส่งไปให้ธนาคารโดยตรง (ปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายของระบบนี้ยังสูงอยู่)

เลือกรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ท่านอาจทำทุกรูปแบบ หรือแบบใดแบบหนึ่ง)

รูปแบบที่ 1: B-to-B (Business to Business) เป็นการค้าระหว่างองค์กร หรือบริษัท (ปริมาณขายต่อครั้งจะมาก)

รูปแบบที่ 2: B-to-C (Business to Consumer) เป็นการค้าจากองค์กร สู่ลูกค้าบุคคล (ค้าส่งขนาดย่อม ประมาณพอประมาณ)

รูปแบบที่ 3: C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นการค้าระหว่างบุคคล ถึง บุคคล (ค้าปลีก ปกติปริมาณขายจะน้อย)

รูปแบบที่ 4: G-to-C (Government to Consumer) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับผู้บริโภค (การให้บริการประชาชน)

รูปแบบที่ 5: G-to-B (Government to Business) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับองค์กร (ปริมาณการค้ามาก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นาฬิกา

ประเทศต่างๆ

free counters

calendar

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยมหาสสารคาม

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น