Have an account?

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น

พระธาตุขามแก่น


ตั้งอยู่บนทางหลวงสายขอนแก่นกาฬสินธุ์ ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 12 กม. ข้ามลำน้ำพองเลี้ยวซ้ายไปอีก 14 กม. จุดหมายคือ วัดเจติยภูมิ ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง วัดซึ่งเป็นที่ตั้งปูชนียสถานสำคัญคู่เมืองขอนแก่น "พระธาตุขามแก่น" ชาวขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงในภาคอีสานถือกันว่า พระธาตุขามแก่นเป็นจุดยึดเหนี่ยวทางใจ และเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธ์คู่อีสานอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากพระธาตุพนม จ. นครพนม และพระธาตุเชิงชุม จ. สกลนคร ตามประวัติกล่าวไว้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ราว 3 ปีพระมหากัสสปะและเถระ ได้นำพระอุรังคธาตุไปประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้า ตามพระประสงค์ของพระพุทธองค์ แล้วประชุมพระอรหันต์ 500 องค์ กับพระยาอินทปัจฏฐนคร พระยาดำแดง พระยานันทเสน พระยาสุวรรณภิงคาร และพระยาจุลนีพรหมทัตต เป็นศาสนูปถัมภก ร่วมสร้างองค์พระธาตุพนมขึ้น ข่าวการสร้างพระธาตุพนมนี้เป็นข่าวใหญ่ เพราะขนาดเมืองโมรีย์ ซึ่งอยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชาปัจจุบันที่ออยู่ห่างไกลจากภูกำพร้าไป นับเป็นหมื่นๆ เส้นยังได้ทราบข่าว โมริยกษัตริย์ เจ้าเมืองโมรีย์ มีความประสงค์ที่จะนำพระอังคารขอองพระพุทธเจ้าที่ตนได้ไว้ เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ มาบรรจุไว้ในพระธาตุพนมร่วมกับพระอังคธาตุด้วย จึงโปรดให้พระอรหันต์ยอดแก้ว พระอรหันธรังษี พระอรหันต์คันธีเถระ เจ้าคณะรวม 9 องค์ และพระยาหลังเขียว เป็นผู้นำขบวนอัญเชิญพระธาตุในครั้งนี้ เมื่อมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่งซึ่งมีภูมิประเทศราบเรียบ มีห้วยเป็นแยก น้ำไหลผ่านไปรอบๆ ดอน พร้อมทั้งมีต้นมะขามใหญ่ยืนตายมานานจนเหลือแต่แก่นต้นหนึ่ง เนื่องจากเป็นเวลาที่ตะวันพลบพอดี คณะอัญเชิญพระธาตุคณะนี้จึงหยุดพักชั่วคราว จนรุ่งเช้าจึงออกเดินทางต่อไปจนถึงภูกำพร้า เมือถึงภูกำพร้าปรากฏว่าองค์พระธาตุพนมสร้างเสร็จแล้วไม่สามารถที่จะนำพระธาตุไปบรรจุเข้าได้อีกจึงได้พากันนมัสการพระธาตุแล้วเดินทางกลับ ตั้งใจว่าจะนำพระธาตุไปประดิษฐานไว้บ้านเมืองของตนดังเดิม แต่เมื่อผ่านดอนมะขามอีกครั้ง ก็ปรากฏแก่นมะขามที่ตายแล้วนั้น กลับยืนต้นผลิดอก แตกกิ่งก้านสาขาเขียวชอุ่มอย่างน่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระธาตุเห็นนิมิตดังนั้น จึงตกลงใจสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามแก่นต้นนั้นไว้ พร้อมกับนำพระธาตุและพระพุทธรูป ที่สร้างจากแก้วแหวนเงินทองเเข้าบรรจุไว้ภายในองค์พระธาตุพร้อมกับพวกตนทั้งหมดก็ปักหลักสร้างบ้านแปงเมืองกันที่บริเวณนี้ และเมื่ออยู่ต่อมาพระอรหันต์ทั้ง 9 นิพพานไปตามอายุขัยก็ได้สร้างพระธาตุเล็กไว้ทางทิศตะวันออกของพระธาตุองค์ใหญ่ เพื่อบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ทั้ง 9 เรียกว่าพระธาตุน้อย เมืองเก่าบ้านขามนี้ได้รกร้างผู้คนไปหลายหน จนถึงปี พ.ศ.2332 เพี้ยเมืองแพน เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บึงบอน หรือบ้านเมืองเก่าบริเวณ อ.เมืองขอนแก่นปัจจุบัน จึงได้นิมิตนามเมืองนี้ว่า "ขอนแก่น" อันเป็นชื่อเมืองภายในเจดีย์ นอกจากพระธาตุแล้ว ยังได้บรรจุคัมภีร์นวโลกุตตรธรรม และคาถาสรรเสริญพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า "บวรหคุณ" ไว้อีกด้วย ปัจจุบัน บริเวณองค์พระธาตุขามแก่นได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรภายใต้การควบคุมของสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่นมีการปรับปรุงทาสีองค์พระธาตุ ขยายบริเวณกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน ห่างจากองค์พระธาตุให้กว้างออกไป ปรับปรุงบริเวณทางเดินด้านหน้าองค์พระธาตุให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม
แหล่งที่มา
http://ridceo.rid.go.th/khonkhan/html/phatan.html

แผนที่

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อินเตอร์เน็ต

ระบบอินเตอร์เน็ต










เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมาค่อนข้างยาวนานจาก อาร์พาเน็ต (ARPANET) ในปี พ.ศ. 2512 โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐเพื่อเชื่อมโยงศูนย์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการกำหนดคอมพิวเตอร์หลักที่ต่ออยู่บนเครือข่ายให้มีหมายเลขประจำเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขนี้จะเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องแม่ข่ายของสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ใช้รหัสหมายเลข 203.146.150.80 รหัสประจำเครื่องที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นี้ แต่อาจยุ่งยากต่อผู้ใช้เพราะมีตัวเลขหลายตัว จึงมีการสร้างชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลักสากลเพื่อให้เรียกขาน และเป็นที่เข้าใจง่ายขึ้น เช่น oho.ipst.ac.th
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในประเทศไทยได้เชื่อมโยงโดยสมบูรณ์เข้ากับ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในเดือนกันยายน 2536 จุดแรกที่เชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ต คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก chulkn.chulu.ac.th เข้ากับเครือข่าย หลังจากนั้นอีกประมาณหนึ่งปี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ก็เชื่อมโยงเครือข่ายไทยสาร (Thaisarn) ซึ่งเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงของมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายเหมือนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้ทั่วโลก ด้วยเหตุนี้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จึงกระทำได้ในทุกเครือข่ายทั่วโลก การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากมายเช่น
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก มีแนวโน้มการขยายตัวและจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความเร็วในการส่งข่าวสารถึงกันได้มากกว่าการส่งทางไปรษณีย์ปกติ
การสนทนาแบบเชื่อมตรง (chat) ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถคุยกับคนอื่นในลักษณะโต้ตอบกันผ่านทาง
จอภาพ และ แผงแป้นพิมพ์อักขระ การพูดคุยผ่านทางตัวหนังสือมีความชัดเจนและเข้าใจกันได้
การค้นหาข้อมูล (browser) คอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สะสมและเก็บจากหลายๆ ผู้ใช้ และมีบางส่วนที่ต้องการเผยแพร่โดยไม่คิดมูลค่า เอกสารหนังสือหรือแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้รับการจัดเก็บและเผยแพร่แก่ผู้สนใจที่อยู่ใน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูลที่เจ้าของอนุญาตให้สำเนา เมื่อมีกลุ่มก็มีการรวบรวมข้อมูลและเก็บเผยแพร่ระหว่างกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลแหล่งใหญ่มาก
กระดานข่าว (web board) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการจัดตั้ง
กระดานข่าว มีผู้ส่งข่าวสารถึงกันผ่าน กระดานข่าว กระดานข่าวส่วนใหญ่แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สนใจดนตรีก็มีการฝากเพลงหรือเรื่องรวมเกี่ยวกับดนตรี กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มไทยกรุ๊ป (Thai gruop) กลุ่มผู้สนใจจักรยาน
เกมและนันทนาการ มีการเล่นเกมบนเครือข่าย เกมที่รู้จักกันดีคือเกม (Multi User Dungeon : MUD) เกมผจญภัยต่างๆ ที่เล่นในเครือข่ายมีการสนทนาตอบโต้กันในระยะห่างไกล

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อินเตอร์เน็ต


อินเตอร์เน็ตคืออะไร

ในสังคมยุคข่าวสารเช่นปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า “อินเตอร์เน็ต” เหตุเพราะอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากในโลกนี้ไปแล้ว ประมาณกันว่าในแต่ละวันมีผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนในประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศทั่วโลกกำลังใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่ อาจเป็นนักศึกษาคนหนึ่งในประเทศออสเตรเลียที่กำลังสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นกำลังสั่งซื้อหนังสือจากประเทศไทย เป็นต้น การประกอบกิจกรรมต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นภาพของการสื่อสารที่ไร้พรมแดนได้อย่างชัดเจน
การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยได้ก้าวล่วงเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะด้านการศึกษาหรือการวิจัยเหมือนเมื่อเริ่มมีการใช้อินเตอร์เน็ตใหม่ๆ ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขององค์กรทั้งหลาย ได้มีความพยายามนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานของตนในรูปแบบต่างๆ อาทิ การประชาสัมพันธ์องค์กร การโฆษณาสินค้า การค้าขาย การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ นอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นอีกสื่อหนึ่งของความบันเทิงภายในครอบครัวไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถกระทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น
1. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
2. หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace
3. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ
สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3. ความเร็วของสายที่ใช้4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร

tttt


วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นาฬิกา

ประเทศต่างๆ

free counters

calendar

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยมหาสสารคาม

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น