Have an account?

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การแสดง


หมอลำอีสาน
หมอลำ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ หมอลำผีฟ้า หมอลำพื้น หมอลำกลอน และหมอลำหมู่


หมอลำผีฟ้า หมอลำผีฟ้า หมายถึง หมอลำที่ติดต่อกับผีฟ้า ความมุ่งหมายของการร้องรำผีฟ้าก็เพื่อรักษาคนป่วย แล้วเชิญชวนคนป่วยให้ลุกขึ้นมาร่วมร้องรำทำเพลงกับคณะหมอลำ ไม่ได้เจตนาลำเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ฟัง แต่มุ่งสร้างความบันเทิงให้แก่คนป่วยเป็นสำคัญ


กลอนลำของหมอลำผีฟ้าและเพลงแคนเป็น " กลอนผญา " เหมือนกับกลอนเกี้ยวระหว่างหนุ่มสาว ร้องรำได้ก็ต่อเมื่อผีฟ้ามาเข้าสิง เฉพาะบทเชิญพญาแถนลงมาเยี่ยมคนป่วย ทำนองลำและทำนองแคน เรียกกันว่า " ลำทางยาว " คือ ลำแบบมีเสียงเอื้อนยาวสะอึกสะอื้นนั่นเอง ทำนองแคนในทางปฏิบัติจะเป็น " ลาย "หมอลำพื้น


หมอลำพื้น หมายถึง " หมอลำนิทาน " คือ หมอที่เล่านิทานด้วยการลำ (ขับร้อง) คำที่เก่าแก่พอ ๆ กันกับ " ลำพื้น " ก็คือ " เว้าพื้น " ซึ่งตรงกับว่า " เล่านิทาน " หมอลำพื้นจะเป็นหมอลำคนเดียว และมีหมอแคนเป่าคลอเสียงประสานไปด้วยหมอลำกลอน


หมอลำกลอนคือ หมอลำที่ลำโดยใช้กลอน ถ้าจะให้ใกล้เคียงกับความหมายก็น่าจะเป็น" หมอลำโต้กลอน " มากกว่า เพราะเป็นการลำแข่งขันโต้ตอบกันด้วยกลอนลำแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ หมอลำกั๊บแก๊บ หมอลำกลอน (ธรรมดา) และหมอลำชิงชู้


หมอลำกั๊บแก๊บ หรือหมอลำกรับ หมอลำ (คนเดียว) จะลำเป็นทำนองลำกลอน


หมอลำกลอน เป็นหมอลำคู่ ชาย - ชาย หรือ ชาย - หญิง ปัจจุบันจะมีเฉพาะคู่ชาย - หญิง เท่านั้น สมัยก่อนจะเน้นในทางแข่งวิชาความรู้กันเป็นหลัก ปัจจุบันนิยมการลำเกี้ยวกันเป็นการสนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้ศิลปะสูงยิ่งกว่าหมอลำประเภทใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งการฝึกฝนอบรม ความขยันหมั่นเพียร ตลอดจนคุณค่าของบทกลอน


ทำนองลำมีอยู่สองทำนองคือ ทำนองลำทางสั้น กับทำนองลำทางยาวปัจจุบันมีทำนองลำเต้ยเพิ่มเข้าเป็นตอน ทำนองลำทางสั้นเนื้อเต็มไม่มีเอื้อนมีจังหวะสม่ำเสมอ ทำนองรำทางยาวหรือบางทีเรียกว่า ลำล่อง หรือลำอ่านหนังสือ เป็นทำนองลำแบบเอื้อนเสียงยาวสะอึกสะอื้นแสดงอารมณ์โศกส่วนลำเต้ยเป็นการลำแบบเนื้อเต็ม มีจังหวะคึกคัก มีชีวิตชีวา แสดงอารมณ์รักและอ่อนหวาน มักจะแสดงตลอดทั้งคืน ประมาณสามทุ่มจนถึงสว่าง


ทำนองลำเต้ย หมายถึง เพลงสั้น ๆ ที่ใช้ลำเกี้ยวกันและมีจังหวะคึกคักมีชีวิตชีวา ซึ่งมีทั้งหมด ๔ ทำนองคือ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้นหัวโนนตาล


หมอลำชิงชู้ เป็นหมอลำประเภทหนึ่งที่มีหมอลำฝ่ายชาย ๓ คน ฝ่ายหญิง ๑ คน เป็นการลำประชันแข่งขันระหว่างฝ่ายชายเพื่อเอาชนะใจฝ่ายหญิง สมมุตฝ่ายชายทั้งสามให้เป็นข้าราชการ พ่อค้า และชาวนา บางทีเรียกหมอลำนี้ว่า หมอลำสามเกลอ หรือหมอลำสามสิงห์ชิงนางหมอลำหมู่


หมอลำหมู่คือ หมอลำที่มีผู้แสดงหลายคน โดยแสดงเป็นเรื่องราว แสดงละคร หรือลิเก โดยนำเอานิทานพื้นบ้านมาทำบทใหม่ เช่น เรื่องนางแตงอ่อน ท้าวสีทน ขุนลู (ซูลู) -นางอั้ว ผาแดง - นางไอ่ ท้าวการะเกดและท้าวก่ำกาดำ เป็นต้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ หมอลำหมู่ กับหมอลำเพลิน ลำหมู่ธรรมดามักจะเน้นเรื่องความจริงจัง ความเป็นอนุรักษ์นิยมมีทำนองโศก แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ส่วนลำเพลินจะเน้นความสนุกสนานเพลิดเพลินและความเป็นอิสรนิยมเป็นสำคัญ แต่งตัวแบบสมัยนิยม คือ นุ่งกระโปรงสั้นอวดรูปทรงเหยา


พิธีการอ้อนวอนผีด้วยการร่ายรำ เป็นการเสี่ยงทายให้ผีแจ้งความประสงค์เพื่อแก้ไขเคราะห์การเจ็บไข้ได้ป่วยของคนในครอบครัว เป็นประเพณีของชาวผู้ไทยที่มีความเชื่อและนับถือผีมาแต่โบราณ เรียกว่า ประเพณีการเหยาวิทยาลัยนาฏศิลป์จังหวัดกาฬสินธุ์ กรมศิลปากรได้ประยุกต์เป็นท่ารำใหม่โดยอิงลักษณะการร้องและรำจากประเพณีเดิม โดยใช้เครื่องดนตรี แคน โปงลาง พิณ เบส โหวด กลอง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และเกราะ การร่ายรำมีทั้งจังหวะช้าและเร็ว การแต่งกายเสื้อคอกลมและแขนยาวนุ่งผ้ามัดหมี่ ห่มแพรวา กลองเส็ง , กลองสองหน้า


กลองเส็ง เป็นการแสดงที่ใช้กลองเป็นเครื่องมือแสดงความสามารถในการตีกลองได้ดังและแม่นยำแคล่วคล่องว่องไว เป็นที่นิยมทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มชาวโส้หรือกระโซ่ จังหวัดสกลนคร กลุ่มชาวผู้ไทย กลุ่มชาวย้อ กลุ่มชาวกะเลิง มีความนิยมกันมาก จึงได้ปรากฎการคิดสร้างสรรค์ท่าตีกลองแตกต่างกันออกไปแปลก ๆ การตีกลองเส็งจะต้องมีการแข่งขัน เพราะคำว่า “เส็ง” แปลว่า “การแข่งขัน” จึงนับเป็นการแสดงแบบกีฬาประเภทหนึ่งที่นิยมจัดขึ้นในเทศกาลงานบุญ แต่ก็ไม่มีบ่อยครั้งนัก กล็องเส็งนั้นสำคัญอยู่ที่กลองกับคนตีกลอง สำหรับตัวกลองนั้นขุดด้วยไม้จนกลวง มีปากกว้าง ก้นแคบ ใช้หนังวัวหรือหนังควายหุ้มหน้ากลอง มีสายเร่งสำหรับเร่งให้หน้ากลองตึงมากหรือน้อยตามความต้องการ เฉพาะในกลุ่มหมู่บ้านที่มีความสนิทชิดชอบกัน หรือเจ้าอาวาสของแต่ละวัดชอบพอเคารพนับถือกันดีอยู่ บางครั้งก็มีการแข่งขันกันในงานบั้งไฟ โดยปักสลากระบุว่าให้เอากลองเส็งไปพร้อมกับบั้งไฟด้วย เวลาหามเอากลองเส็งไปยังที่แข่งขัน จะต้องตั้งพิธียกครูจุดธูปเทียนบูชาอธิษฐานขอให้ได้ชัยชนะ เวลาหามไปก็จะเคาะกลองไปเบา ๆ ให้เสียงกลองเป็นสัญญาณบอกว่ากลองของหมู่บ้านนั้น ๆ กำลังจะมาถึงแล้ว เมื่อลงมือแข่งขันกันก็เริ่มต้นมัดกลองทั้งคู่เข้ากันเป็นคู่ ๆ เริ่มจากเสียงเบาที่ฟังเพราะก่อน จากนั้นก็จะค่อย ๆ ดังขึ้น ๆ ตอนนี้เองถ้าฝ่ายใดเหนือกว่าก็จะส่งเสียงกลบอีกฝ่ายหนึ่งอย่างราบคาบ ถ้าค่อนข้างสูสีกันจะมีเสียงอีกฝ่ายหนึ่งดังสอดแทรกขึ้นบ้าง แต่ที่เสมอกันก็จะยิ่งดังมากขึ้น ผู้ตีกลองนั้นจะเคลื่อนไหวร่างกายจนสั่นเทิ้มไปทั้งตัว สะโพกก็จะส่ายไปมาอย่างรวดเร็วด้วย การแพ้ชนะไม่ได้อะไรกลับไป นอกจากผู้ชนะจะได้มีหน้ามีตาเท่านั้น ในปัจจุบันกำลังได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีก หลังจากซบเซามาเกือบ 40 ปีรำลาวกระทบไม้


"รำกระทบไม้"

เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์ เดิมเรียกว่า "เต้นสาก" ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก


แหล่งที่มา

http://www.art2bempire.com/board/index.php?topic=7574.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นาฬิกา

ประเทศต่างๆ

free counters

calendar

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยมหาสสารคาม

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น