Have an account?

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อินเตอร์เน็ต

ระบบอินเตอร์เน็ต










เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมาค่อนข้างยาวนานจาก อาร์พาเน็ต (ARPANET) ในปี พ.ศ. 2512 โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐเพื่อเชื่อมโยงศูนย์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการกำหนดคอมพิวเตอร์หลักที่ต่ออยู่บนเครือข่ายให้มีหมายเลขประจำเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขนี้จะเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องแม่ข่ายของสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ใช้รหัสหมายเลข 203.146.150.80 รหัสประจำเครื่องที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นี้ แต่อาจยุ่งยากต่อผู้ใช้เพราะมีตัวเลขหลายตัว จึงมีการสร้างชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลักสากลเพื่อให้เรียกขาน และเป็นที่เข้าใจง่ายขึ้น เช่น oho.ipst.ac.th
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในประเทศไทยได้เชื่อมโยงโดยสมบูรณ์เข้ากับ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในเดือนกันยายน 2536 จุดแรกที่เชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ต คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก chulkn.chulu.ac.th เข้ากับเครือข่าย หลังจากนั้นอีกประมาณหนึ่งปี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ก็เชื่อมโยงเครือข่ายไทยสาร (Thaisarn) ซึ่งเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงของมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายเหมือนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้ทั่วโลก ด้วยเหตุนี้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จึงกระทำได้ในทุกเครือข่ายทั่วโลก การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากมายเช่น
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก มีแนวโน้มการขยายตัวและจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความเร็วในการส่งข่าวสารถึงกันได้มากกว่าการส่งทางไปรษณีย์ปกติ
การสนทนาแบบเชื่อมตรง (chat) ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถคุยกับคนอื่นในลักษณะโต้ตอบกันผ่านทาง
จอภาพ และ แผงแป้นพิมพ์อักขระ การพูดคุยผ่านทางตัวหนังสือมีความชัดเจนและเข้าใจกันได้
การค้นหาข้อมูล (browser) คอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สะสมและเก็บจากหลายๆ ผู้ใช้ และมีบางส่วนที่ต้องการเผยแพร่โดยไม่คิดมูลค่า เอกสารหนังสือหรือแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้รับการจัดเก็บและเผยแพร่แก่ผู้สนใจที่อยู่ใน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูลที่เจ้าของอนุญาตให้สำเนา เมื่อมีกลุ่มก็มีการรวบรวมข้อมูลและเก็บเผยแพร่ระหว่างกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลแหล่งใหญ่มาก
กระดานข่าว (web board) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการจัดตั้ง
กระดานข่าว มีผู้ส่งข่าวสารถึงกันผ่าน กระดานข่าว กระดานข่าวส่วนใหญ่แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สนใจดนตรีก็มีการฝากเพลงหรือเรื่องรวมเกี่ยวกับดนตรี กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มไทยกรุ๊ป (Thai gruop) กลุ่มผู้สนใจจักรยาน
เกมและนันทนาการ มีการเล่นเกมบนเครือข่าย เกมที่รู้จักกันดีคือเกม (Multi User Dungeon : MUD) เกมผจญภัยต่างๆ ที่เล่นในเครือข่ายมีการสนทนาตอบโต้กันในระยะห่างไกล

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อินเตอร์เน็ต


อินเตอร์เน็ตคืออะไร

ในสังคมยุคข่าวสารเช่นปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า “อินเตอร์เน็ต” เหตุเพราะอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากในโลกนี้ไปแล้ว ประมาณกันว่าในแต่ละวันมีผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนในประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศทั่วโลกกำลังใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่ อาจเป็นนักศึกษาคนหนึ่งในประเทศออสเตรเลียที่กำลังสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นกำลังสั่งซื้อหนังสือจากประเทศไทย เป็นต้น การประกอบกิจกรรมต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นภาพของการสื่อสารที่ไร้พรมแดนได้อย่างชัดเจน
การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยได้ก้าวล่วงเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะด้านการศึกษาหรือการวิจัยเหมือนเมื่อเริ่มมีการใช้อินเตอร์เน็ตใหม่ๆ ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขององค์กรทั้งหลาย ได้มีความพยายามนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานของตนในรูปแบบต่างๆ อาทิ การประชาสัมพันธ์องค์กร การโฆษณาสินค้า การค้าขาย การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ นอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นอีกสื่อหนึ่งของความบันเทิงภายในครอบครัวไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถกระทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น
1. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
2. หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace
3. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ
สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3. ความเร็วของสายที่ใช้4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร

tttt


วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นาฬิกา

ประเทศต่างๆ

free counters

calendar

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยมหาสสารคาม

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น