Have an account?

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น

พระธาตุขามแก่น


ตั้งอยู่บนทางหลวงสายขอนแก่นกาฬสินธุ์ ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 12 กม. ข้ามลำน้ำพองเลี้ยวซ้ายไปอีก 14 กม. จุดหมายคือ วัดเจติยภูมิ ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง วัดซึ่งเป็นที่ตั้งปูชนียสถานสำคัญคู่เมืองขอนแก่น "พระธาตุขามแก่น" ชาวขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงในภาคอีสานถือกันว่า พระธาตุขามแก่นเป็นจุดยึดเหนี่ยวทางใจ และเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธ์คู่อีสานอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากพระธาตุพนม จ. นครพนม และพระธาตุเชิงชุม จ. สกลนคร ตามประวัติกล่าวไว้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ราว 3 ปีพระมหากัสสปะและเถระ ได้นำพระอุรังคธาตุไปประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้า ตามพระประสงค์ของพระพุทธองค์ แล้วประชุมพระอรหันต์ 500 องค์ กับพระยาอินทปัจฏฐนคร พระยาดำแดง พระยานันทเสน พระยาสุวรรณภิงคาร และพระยาจุลนีพรหมทัตต เป็นศาสนูปถัมภก ร่วมสร้างองค์พระธาตุพนมขึ้น ข่าวการสร้างพระธาตุพนมนี้เป็นข่าวใหญ่ เพราะขนาดเมืองโมรีย์ ซึ่งอยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชาปัจจุบันที่ออยู่ห่างไกลจากภูกำพร้าไป นับเป็นหมื่นๆ เส้นยังได้ทราบข่าว โมริยกษัตริย์ เจ้าเมืองโมรีย์ มีความประสงค์ที่จะนำพระอังคารขอองพระพุทธเจ้าที่ตนได้ไว้ เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ มาบรรจุไว้ในพระธาตุพนมร่วมกับพระอังคธาตุด้วย จึงโปรดให้พระอรหันต์ยอดแก้ว พระอรหันธรังษี พระอรหันต์คันธีเถระ เจ้าคณะรวม 9 องค์ และพระยาหลังเขียว เป็นผู้นำขบวนอัญเชิญพระธาตุในครั้งนี้ เมื่อมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่งซึ่งมีภูมิประเทศราบเรียบ มีห้วยเป็นแยก น้ำไหลผ่านไปรอบๆ ดอน พร้อมทั้งมีต้นมะขามใหญ่ยืนตายมานานจนเหลือแต่แก่นต้นหนึ่ง เนื่องจากเป็นเวลาที่ตะวันพลบพอดี คณะอัญเชิญพระธาตุคณะนี้จึงหยุดพักชั่วคราว จนรุ่งเช้าจึงออกเดินทางต่อไปจนถึงภูกำพร้า เมือถึงภูกำพร้าปรากฏว่าองค์พระธาตุพนมสร้างเสร็จแล้วไม่สามารถที่จะนำพระธาตุไปบรรจุเข้าได้อีกจึงได้พากันนมัสการพระธาตุแล้วเดินทางกลับ ตั้งใจว่าจะนำพระธาตุไปประดิษฐานไว้บ้านเมืองของตนดังเดิม แต่เมื่อผ่านดอนมะขามอีกครั้ง ก็ปรากฏแก่นมะขามที่ตายแล้วนั้น กลับยืนต้นผลิดอก แตกกิ่งก้านสาขาเขียวชอุ่มอย่างน่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระธาตุเห็นนิมิตดังนั้น จึงตกลงใจสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามแก่นต้นนั้นไว้ พร้อมกับนำพระธาตุและพระพุทธรูป ที่สร้างจากแก้วแหวนเงินทองเเข้าบรรจุไว้ภายในองค์พระธาตุพร้อมกับพวกตนทั้งหมดก็ปักหลักสร้างบ้านแปงเมืองกันที่บริเวณนี้ และเมื่ออยู่ต่อมาพระอรหันต์ทั้ง 9 นิพพานไปตามอายุขัยก็ได้สร้างพระธาตุเล็กไว้ทางทิศตะวันออกของพระธาตุองค์ใหญ่ เพื่อบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ทั้ง 9 เรียกว่าพระธาตุน้อย เมืองเก่าบ้านขามนี้ได้รกร้างผู้คนไปหลายหน จนถึงปี พ.ศ.2332 เพี้ยเมืองแพน เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บึงบอน หรือบ้านเมืองเก่าบริเวณ อ.เมืองขอนแก่นปัจจุบัน จึงได้นิมิตนามเมืองนี้ว่า "ขอนแก่น" อันเป็นชื่อเมืองภายในเจดีย์ นอกจากพระธาตุแล้ว ยังได้บรรจุคัมภีร์นวโลกุตตรธรรม และคาถาสรรเสริญพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า "บวรหคุณ" ไว้อีกด้วย ปัจจุบัน บริเวณองค์พระธาตุขามแก่นได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรภายใต้การควบคุมของสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่นมีการปรับปรุงทาสีองค์พระธาตุ ขยายบริเวณกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน ห่างจากองค์พระธาตุให้กว้างออกไป ปรับปรุงบริเวณทางเดินด้านหน้าองค์พระธาตุให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม
แหล่งที่มา
http://ridceo.rid.go.th/khonkhan/html/phatan.html

แผนที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นาฬิกา

ประเทศต่างๆ

free counters

calendar

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยมหาสสารคาม

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น